สีขาวติด Overprint กับดักร้าย ของงานพิมพ์

posted in: บทความ | 0

สีขาวติด Overprint กับดักร้าย ของงานพิมพ์

ในการเตรียมไฟล์สำหรับงานสิ่งพิมพ์ นักออกแบบส่วนใหญ่หากไม่เข้าใจกระบวนการพิมพ์ ปัญญาก็จะเกิดตามมาทีหลังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี ภาพ การเผื่อเจียน หรือไม่ก็กราฟฟิคส์บางตัวที่ไม่สามารถรองรับในงานพิมพ์ ในบทนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของสีขาวติด Overprint Continued

ขนาดของกระดาษตามมาตรฐานโรงพิมพ์

posted in: บทความ | 0

standard_paper_sizes

กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ

โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาดคือ

- 24 นิ้ว x 35 นิ้ว

- 25 นิ้ว x 36 นิ้ว

- 31 นิ้ว x 43 นิ้ว

 

กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า

โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ

- 25 นิ้ว x 36 นิ้ว

- 31 นิ้ว x 43 นิ้ว

 

กระดาษกล่องแป้ง (หลังขาว, หลังเทา)

โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ

- 31 นิ้ว x 43 นิ้ว

- 35 นิ้ว x 43 นิ้ว

 

กระดาษเคมี (ก็อปปี้ในตัว)

ที่นิยมมีอยู่ 1 ขนาดคือ

- 24 X 36 นิ้ว

 

กระดาษแบงค์สี

โดยทั่วไปมีอยู่ขนาดเดียวคือ

- 31 นิ้ว x 43 นิ้ว

pepersize

 

คำว่า "แกรม" หรือ gsm. ในภาษาอังกฤษ ย่อมาจากคำว่า Grams per Square Metre ซึ่งเป็นหน่วยใช้วัดน้ำหนักของกระดาษจำนวน 500 แผ่น ต่อกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร คนส่วนใหญ่จึงใช้คำว่า "แกรม" ในการเทียบเคียงความหนาของกระดาษ

ราคา และขนาด และการบริการอื่น ๆ อย่างเช่น การตัดตามขนาดที่ต้องการหรือบริการ รับ - ส่ง สามารถสอบถามได้ที่ผู้จำหน่ายกระดาษสำหรับโรงพิมพ์ได้ทั่วไป

กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

posted in: บทความ | 0

กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

การแยกสีในระบบ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์งานออฟเซ็ททั่วไป

Print

สำหรับเฉดของสีแม่พิมพ์ทั้ง 4 สี คือ

  1. C = Cyan สีฟ้า
  2. M = Magenta สีแดง (แดงชมพู)
  3. Y = Yellow สีเหลือง
  4. K = Black สีดำ
  5. Spot Color (ในกรณีที่พิมพ์มากกว่า 4 สีปกติ)

 

สีของระบบ CMYK สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักกับระบบสี CMYK เลย หรือยังนึกภาพไม่ออกว่า เพลทนั้นแยกสีอย่างไรให้ลองเปิดรูปอะไรก็ได้สักรูปในโปรแกรม Photoshop แล้วเข้าไปที่เมนู Image แล้วเลือก Mode CMYK จากนั้นก็ไปที่เมนู Windows แล้วเลือก Channels เราจะพบว่าภาพที่ได้นั้นเกิดจากการรวมตัวของ cmyk ซึ่งในระบบเพลทนั้นก็จะแยกสีโดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน

 
slide1

ภาพวงกลม เป็นการรวมสีของ cmyk ซึ่งมีน้ำหนักการลงสีเท่ากันแต่หากจะมีเฉดสีอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นเป็นเพราะว่าการลงน้ำหนักของสีของแต่ละสีไม่เท่ากัน อย่างเช่นว่า พิมพ์สีเหลืองน้ำหนักที่ 100% และสีฟ้าที่ 100%ก็จะได้สีเขียวเข้ม แต่หากลดสีฟ้าลงครึ่งหนึ่ง เป็น Y100 C50 เราก็จะได้สีเขียวอ่อนดังภาพ

 

 

 Print

ภาพด้านบน  แสดงการรวมสี CMYK น้ำหนักที่ 100% เท่ากัน / น้ำหนัก Y100+ C50 จะได้สีเขียวอ่อน

 

กรณีที่ต้องแยกสีพิเศษจากรูปภาพทำอย่างไร?

ในงานพิมพ์บางชิ้นงาน การพิมพ์เพียง 4 สีปกติ ทำให้ภาพที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะทำให้การควบคุมสีตอนพิมพ์ไม่ได้ตามที่ต้องการจึงต้องแยกสีออกมาเป็นสีพิเศษต่างหาก ในการแยกสีนั้น หากเป็นไฟล์ที่เป็นกราฟฟิคส์อย่าง .ai ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะเกิดกับไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ซึ่งต้องทำงานในโหมด Channels ของโปรแกรม Photoshop หลักสำคัญก็คือต้องแยกเอาสีเฉพาะที่ต้องการมาทำอีก Channels ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากเพราะหากการแยกสีทำได้ไม่ถูกต้องแล้ว การพิมพ์นั้นก็จะได้สีที่ไม่เป็นที่ต้องการส่วนขั้นตอน และวิธีการทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวในบทต่อไป

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต คืออะไร?

posted in: บทความ | 0

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต คืออะไร?

offset

การพิมพ์ offset เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน ซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

Read More